Saturday, February 2, 2013

ลักษณะทั่วไปของฟักทอง

ลักษณะทั่วไปของฟักทอง






ลักษณะทั่วไปของฟักทอง


ฟักทองเป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดและเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่นเดียวกับแตงโม มีดอกสีเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสร โดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือมีแมลงผสมเกสร หรือผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผล
เป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวดสำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน จึงต้องการเนื้อที่ปลูกมากกว่าพืชผักอื่นๆ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุปีเดียว (ฤดูเดียว) เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป
มีหลายพันธุ์ทั้งแบบต้นเลื้อยและเป็นพุ่มเตี้ย พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน ส่วนพันธุ์หนักมีอายุตั้งแต่หยอดเมล็ดจนติดผลอ่อน 45-60 วันและให้ผลแก่เมื่อ 120-180 วัน โดยทยอยเก็บผลได้หลายครั้งจนหมดผล

เทคนิคการผสมเกสรเพิ่มผลผลิตฟักทอง

เทคนิคการผสมเกสรเพิ่มผลผลิตฟักทอง 

 

ฟักทอง จัดเป็นพืชผักที่อยู่ในกลุ่มพืชตระกูลแตง ซึ่งได้แก่ ฟักทอง แตงกวา แตงร้าน ฟักแฟง มะระ บวบ แตงโม แคนตาลูป ฯลฯ เป็นพืชผักที่มีราคาถูก มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณและถนอมสายตา นำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่แกงเลียง แกงส้มเปรอะ แกงส้ม เป็นต้น เนื้อใช้ทำอาหารได้ทั้งคาว-หวาน ทั้งผัด-แกง-ขนม และใช้เป็นอาหารเสริมในเด็กเล็ก รวมทั้งดัดแปลงมาใช้โรยหน้าหรือปนในขนมต่างๆ ทำให้มีสีสันสวยงาม และมีคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเกษตรกรหลายท่านไม่ได้ให้ความสนใจในการต่อดอกของฟักทองจึงทำให้ได้ผลผลิตน้อยดังนั้นการต่อดอกฟักทองจึงมีความสำคัญมากเพาะจะทำให้เกษตรกรนั้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ซึ่งทีมงาน FARMER INFO จ.เชียงราย ได้ลงพื้นที่พบกับคุณวัชรินทร์ ทารัมย์ เกษตรกรผู้ปลูกฟักทอง ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เพื่อไปรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ได้จากการปลูกฟักทองมานาน โดยเฉพาะเทคนิคการผสมเกสรเพิ่มผลผลิตฟักทอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


++ การเตรียมวัตถุดิบ ++

1. นมผงเด็ก

2. น้ำสะอาด

++วิธีการทำ ++

- เมื่อปลูกฟักทองได้ประมาณ 1 เดือน ให้สังเกตต้นฟักทองจะเริ่มออกดอก

- หลังจากนั้นนำนมผงเด็กที่เตรียมไว้มาผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร

- คนให้นมผงละลายและเข้ากันดี

- นำไปฉีดพ่นดอกฟักทองในช่วงเช้า เพื่อช่วยล่อแมลงมาช่วยผสมเกสรทำให้ดอกฟักทองติดเป็นผลได้ทุกเถา

** หรืออีกวิธีการหนึ่งคือให้เกษตรกรนำเกสรดอกตัวผู้มาผสมให้กับดอกตัวเมีย โดยคัดเอาดอกจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงวิธีการสังเกตดอกนั้นสามารถสังเกตได้ง่ายๆโดยดอกตัวผู้จะเป็นดอกสีเหลืองและมีเกสรอยู่ด้านใน ส่วนดอกตัวเมียนั้น จะมีดอกสีเหลืองและจะสังเกตเห็นได้ว่าฐานของดอกนั้นจะมีลูกกลมๆสีเขียวติดอยู่กับดอก

- ให้นำเกสรตัวผู้ 1 ดอก มาผสมกับดอกตัวเมีย 3 ดอก คือ ให้นำเกสรตัวผู้มาเคาะเอาเกสรใส่ลงไปในเกสรตัวเมีย หรืออาจใช้ไม้เล็กๆเขี่ยลงไปผสมก็ได้

- หากดอกฟักทองได้รับการผสมเกสรก็จะทำให้มีขนาดของผลที่ใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน หากไม่ได้รับการผสมเกสรจะทำให้ผลของฟักทองแห้งหรือฝ่อ ทำให้ไม่ได้ผลผลิต
++ ประโยชน์ ++

-ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต

-ลดค่าปุ๋ย-ยาฮอร์โมนต่างๆในการบำรุง

-สามารถให้ผลผลิตเร็วกว่าการปลูกฟักทองทั่วไปแถมยังได้คุณภาพอีกด้วย

เรียบเรียงโดย : พูนศักดิ์ ศรีสุทธา เจ้าหน้าสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
---------------------------- ^ ^ ---------------------------
แหล่งอ้างอิง :
วัชรินทร์ ทารัมย์ .สัมภาษณ์,31 พฤษภาคม 2555

การปลูกฟักทองแบบเกษตรอินทรีย์

การปลูกฟักทองแบบเกษตรอินทรีย์

สำหรับวิธีการปลูกฟักทองในรูปแบบของเกษตรอินทรีย์นั้น ผศ. ดร. จานุลักษณ์ ขนบดี สถานบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปลูกฟักทองโดยไม่ใช้สารเคมีและสารสังเคราะห์ทุกชนิดมีการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดี โดยใช้ปุ๋ยหมักมีการคลุมดินจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืชและสัตว์ที่ผุพังมีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่เป็นประโยชน์

++ การทำและใช้ปุ๋ยหมักบำรุงดินและต้นฟักทอง ++

ปุ๋ยหมัก : เป็นปุ๋ยที่ทำจากการหมักเศษพืชเป็นชั้นสูง 20 – 30 เซนติเมตร จากนั้นใส่มูลสัตว์เป็นชั้นสูง 5 – 10 เซนติเมตร แล้วพรมน้ำให้ความชื้น(ทดสอบปริมาณความชื้นที่เหมาะสมด้วยการกำเศษวัสดุให้แน่นแล้วมีน้ำไหลออกมาตามร่องนิ้วมือเล็กน้อย) ทำการกองเศษพืชและมูลสัตว์สลับกันจนได้ความสูงของกองปุ๋ยประมาณ 1 เมตรจากนั้นนำวัสดุ เช่น กระสอบทราย ทางมะพร้าวหรือฟางข้าว มาคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษาความชื้นไว้ในกองปุ๋ยนานๆ กลับกองปุ๋ยทุกๆ 3 – 4 อาทิตย์ต่อครั้ง หมักกองปุ๋ยนาน 3 เดือน ปุ๋ยที่หมักจะสุกหรือย่อยสลายตัวดีนำไปใช้เพาะปลูกฟักทองได้ ปุ๋ยหมักที่พร้อมใช้จะมีลักษณะเปื่อยยุ่ยมีสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดิน ไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนมูลสัตว์ ในการทำปุ๋ยหมักควรใช้สารเร่ง พด.1 จากกรมพัฒนาที่ดินเพื่อช่วยในการย่อยสลายของซากพืช ปุ๋ยหมักจะใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นอัตราที่แนะนำในการใส่แปลงฟักทองเฉลี่ย 3 – 6 ตันต่อไร่ ขึ้นอยู่กับสมบูรณ์ของสภาพดินที่ปลูก

ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากพืชผัก : จะเป็นน้ำหมักที่ทำจากการหมักเศษพืชและสัตว์ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากพืช เช่น ผักต่างๆ, ผลไม้,วัชพืชและสมุนไพร เป็นต้น ใช้อัตราส่วนเศษพืช 3 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน โดยนำวัสดุมาย่อยหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆหรือบดให้ละเอียดคลุกเคล้ากับกากน้ำตาลให้เข้ากันในภาชนะ โดยใส่ให้เกือบเต็ม ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่มมีสภาพอากาศถ่ายเทดีหลังจากการหมักไปได้ 7 – 10 วัน ให้กรองเอาแต่ของเหลวมาผสมน้ำอัตราส่วน 1:200 หรือ 1:1,000ฉีดพ่นต้นพืชหรือราดลงดินบริเวณรากพืช

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ : ที่ทำได้ง่ายๆ เช่น ผสมรำละเอียด 60 กิโลกรัม มูลไก่ 40 กิโลกรัม คลุกให้เข้ากัน จากนั้นใช้เชื้อ พด. 1 ( เชื้อเร่งการทำปุ๋ยหมัก ) 1 ซอง ต่อน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันนานประมาณ 15 – 20 นาที นำน้ำเชื้อ พด.1 ไปเทใส่กองปุ๋ยคลุกให้มีความชื้นมากพอ ( สังเกตความชื้นของกองปุ๋ยด้วยการกำวัสดุแล้วคลายมือออก ก้อนวัสดุยังไม่แตก) หลังจากนั้นกองวัสดุที่ผสมเข้ากันดีแล้วโดยใช้กระสอบป่านคลุม ทำการกลับกองปุ๋ยทุกวันเป็นเวลานาน 7 – 10 วัน เมื่อปุ๋ยหมักได้ที่แล้วแผ่กองปุ๋ยผึ่งให้แห้งเพื่อเก็บไว้ใช้ได้นาน วิธีการนำมาใช้ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพแห้ง อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ไว้ในถังนานประมาณ 5 – 7 วัน คนให้ปุ๋ยย่อยสลายจะได้ปุ๋ยน้ำชีวภาพที่เข้มข้น ปุ๋ยหมักชีวภาพแห้งอัตรา 1 กิโลกรัม ทำเป็นปุ๋ยน้ำได้ 400 – 800 ลิตร สามารถนำไปตักรดหรือปล่อยตามร่องให้กับแปลงปลูกฟักทองหรือผสมกับสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูฟักทองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต

ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี ย้ำว่าการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในการปลูกฟักทองนั้น จะต้องได้รับแร่ธาตุอาหารที่เพียงพออาจจะใช้ไม่ได้ผลกับพืชที่ปลูกในดินที่มีความอุดสมบูรณ์ต่ำ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินจะเป็นการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืชพร้อมกับเป็นการปรับความชื้นในดินบริเวณนั้นให้มีความเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กิจกรรมต่างๆของจุลินทรีย์จะดำเนินไปอย่างรวดเร็วโดยใช้อาหารจากปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกหรือพืชสดและวัชพืชที่ใส่ลงในดิน สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ และสร้างสารควบคุมการเจริญเติบโตให้แก่พืชได้อย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่อง

น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์ : ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย, หอยเชอรี่, เปลือกกุ้ง, กระดองปู, แมลงและเศษชิ้นส่วนของสัตว์ ให้ใช้อัตราส่วน 3 ส่วนต่อกากน้ำตาล 3 ส่วนโดยการนำสัตว์หรือชิ้นส่วนมาย่อยหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กๆหรือบดให้ละเอียด คลุกเคล้ากับกากน้ำตาลให้เข้ากันในภาชนะ และควรจะเติมน้ำหมักชีวภาพหรือน้ำหมักจุลินทรีย์หรือน้ำมะพร้าวหรือหัวเชื้อจุลินทรีย์ละลายลงๆไป 1 ส่วน ปิดฝาและนำไปเก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทดีสำหรับการหมักปุ๋ยชีวภาพจากสัตว์จะไม่ปิดฝาและกวนวันละหลายๆครั้งหลังจากการหมักไปแล้ว 1 เดือนหรือจนกว่าวัสดุที่ใช้หมักจะย่อยสลายดีแล้วทำการกรองเอาแต่ของเหลวมาใช้กับพืชเช่นเดียวกับน้ำหมักชีวภาพจากพืช

นอกจากนี้ยังมีการลดต้นทุนในการใส่ปุ๋ยหมักด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลถั่วเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ปอเทือง โสนอิเดียและโสนแอฟริกัน เป็นต้น พืชตระกูลถั่วเหล่านี้จะมีระบบรากซึ่งมีแบคทีเรียอาศัยอยู่และสามารถเปลี่ยนไนโตรเจนจากอากาศให้เป็นปุ๋ยที่พืชสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการปลูกพืชเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสด แนะนำให้หว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่วดังกล่าวในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านในช่วงต้นฤดูฝน(เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน )หลังจากหว่านเมล็ดไปได้ 2 เดือนเศษ พืชตระกูลถั่วจะเริ่มมีดอกบานร้อยละ 50 ให้ทำการไถกลบเพื่อหมักเป็นปุ๋ย ในการย่อยสลายของซากพืชจะใช้ระยะเวลา 3 – 4 อาทิตย์รวมระยะเวลาที่จะต้องใช้พื้นที่นาน 3 เดือน จึงสามารถปลูกฟักทองได้

การตัดแต่งและไว้ตำแหน่งผลของฟักทอง : การตัดแต่งจะทำหลังจากย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลง 10 - 15 วัน เมื่อถึงระยะมีใบที่ 5 ให้เด็ดยอดทิ้งหลังจากนั้นภายใน 2 อาทิตย์ จะมีเถาแขนงแตกออกจากมุมใบ 3 – 4 เถา ให้ติดผลแขนงเถาที่ 5 ถึง 7 จำนวน 4 – 5 ผล ให้ติผลในข้อที่มากกว่า เมื่อผลมีขนาดเท่ากับลูกมะนาว ให้คัดเลือกผลที่สมบูรณ์เหลือเพียง 3 – 4 ผลต่อต้น หลังจากนั้นให้ทำการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทอง ปล่อยให้แขนงแตกโดยธรรมชาติและทำการปลิดผลออกในส่วนปลายเถาออกทิ้งเป็นระยะๆในการตัดแต่งควรจะทำในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้บาดแผลแห้งภายในวันนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าทำลายโดยเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่พืชทางบาดแผล และอาจพ่นสารเคมีป้องกันโรคพืชตามความเหมาะสม นอกจากนี้วันที่ตัดแต่งถ้าเป็นไปได้เป็นวันที่แสงแดดตลอดวันจะยิ่งดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักทอง : หลังจากที่มีการย้ายต้นกล้าฟักทองลงปลูกในแปลงนาน 80 – 100 วันหรือหลังจากดอกบาน 40 – 60 วัน ผลฟักทองจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจัดและมีนวลสีขาวที่ผล เถาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม การผลิตฟักทองสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบผลอ่อนหรือผลแก่ตามความต้องการของตลาด ทำการเก็บเกี่ยว 2 – 3 ครั้ง ช่วงระยะของการเก็บเกี่ยว 15 – 20 วัน ผลผลิตฟักทองเฉลี่ย 3 – 6 ตันต่อไร่
โรคและแมลงศัตรูของฟักทอง: โรคและแมลงศัตรูฟักทอง จากการสำรวจพบว่าแมลงศัตรูฟักทองที่สำคัญจะมีประมาณ 8 ชนิดในกลุ่มแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยไฟ, เพลี้ยอ่อนแตงและแมลงหวี่ขาว เป็นต้น กลุ่มแมลงปีกแข็ง ได้แก่ ด้วงเต่าแตงสีแดงและด้วงเต่าแตงสีดำ ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือแมลงวัน ได้แก่ หนอนแมลงวันแตง,หนอนชอนใบและหนอนแดง เป็นต้น

ช่วงที่มีการระบาดแมลงสัตรูฟักทองที่รุนแรง คือ ช่วงเปลี่ยนฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน ระหว่างเดือนมกราคม – เมษายนวิธีการป้องกันโดยวิธีเขตกรรม คือ ปลูกพืชต่างตระกูลเพื่อลดจำนวนแมลงศัตรูพืช ส่วนการฉีดพ่นสมุนไพรควรพิจารณาตามความจำเป็นและการใช้สมุนไพรจะต้องฉีดพ่นในช่วงตอนเย็นจะได้ผลดีที่สุดโดยเฉพาะสมุนไพรในกลุ่มสะเดาจะใช้ได้ ป้องกันและกำจัดแมลงในวงกว้าง

โรคที่มักพบในการระบาดมากในการปลูกฟักทอง คือ โรคราน้ำค้างมักพบอาการใบแก่มีแผลสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างแผลมีเหลี่ยมมุม เมื่อพลิกดูแผลที่ด้านหลังใบมักจะพบอาการมีผงสีขาวเกาะอยู่บนใบแก่คล้ายมีคนเอาผงแป้งมาโรยไว้ ต่อมาเนื้อใบจะเริ่มเหลืองและแห้งตาย โรคราน้ำค้างมักจะพบในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเย็น

**เกษตรที่เสร็จสิ้นการทำนาปีแล้วนิยมปลูกผักหลังการทำนาเพื่อเป็นรายได้เสริม ฟักทอง พืชที่มีความเหมาะสมในการปลูกช่วงหลังทำนาคือ ราว กุมภาพันธ์ – มีนาคม เนื่องจากฟักทองเจริญเติบโตได้ดีในช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ หากพื้นที่เป็นที่ดอนแล้วเลือกปลูกได้ในช่วงฤดูฝนจะทำให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น เกษตรกรจะประสบความสำเร็จในการผลิตฟักทองให้ได้คุณภาพจึงต้องศึกษาถึงลักษณะนิสัยของพืชชนิดนี้ ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมการเตรียมดินก่อนปลูก การให้น้ำ – ปุ๋ย ตลอดจนปัญหาของโรค – แมลงศัตรู เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันกำจัด และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ


------------------------------------ ^ ^ --------------------------------------
ที่มา :
ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร.การผลิตฟักทองแบบปลอดภัย วารสารเส้นทางกสิกรรม ฉบับที่ 163 เดือนมีนาคม.2552.พิจิตร

เทคนิคช่วยผสมเกสรฟักทอง

เทคนิคช่วยผสมเกสรฟักทอง 
 

ดอกฟักทอง ออกเป็นดอกเดี่ยวอยู่ตามข้อใบแยกเพศ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมีย จะมีรังไข่กลมยาว 2-5 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก ส่วนของยอดเกสรมี 2-5 แฉก

++ การสังเกตดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทอง ++

ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ฟักทองจะมีแต่ดอกตัวผู้ ส่วนดอกตัวเมียจะเริ่มมีตั้งแต่ข้อที่ 12-15 เป็นต้นไป ส่วนใหญ่ดอกที่เกิดปลายเถาและเถาแขนงจะเป็นดอกตัวเมีย

การต่อดอก โดยปลิดกลีบดอกตัวผู้ออกแล้วนำไปเคาะให้ละอองเกสรตกลงบนดอกตัวเมีย

++ การต่อดอกฟักทอง ++
ดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทองจะเริ่มบานในช่วงเวลา 3.30-6.00 น. อับละอองเรณูของฟักทองจะแตกระหว่างเวลา 21.00-3.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 16 ชั่วโมง หลังอับละอองเรณูแตกยอดเกสรตัวเมียจะพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรฟักทอง คือ ตั้งแต่เวลา 6.00-9.00 น.

เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป วิธีนี้เรียกว่า "การต่อดอก"
++ การล่อแมลงช่วยผสมเกสร ++

อีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทอง จ.สกลนคร แนะนำเทคนิคง่ายๆ คือ เอานมผงที่ใช้เลี้ยงทารกผสมน้ำพอประมาณ พ่นใส่ดอกฟักทองในระยะที่ดอกกำลังบาน เพื่อล่อแมลงมาช่วยผสมเกสร วิธีนี้ช่วยให้ฟักทองติดผลทุกเถา โดยไม่ต้องต่อดอก

------------------------------- ^ ^ ------------------------------
ที่มา:

วารสารเส้นทางกสิกรรม ปีที่ 14 ฉบับที่ 163 เดือนมีนาคม.การผลิตฟักทองแบบปลอดภัย" ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรจ.พิจิตร

การปลูกฟักทองเพิ่มขนาดผล


การปลูกฟักทองเพิ่มขนาดผล



คุณนิภา นวลน้อย เกษตรกร บ้านวัดนอก ต.วิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร ปลูกฟักทองเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้ง โดยปลูกแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 7 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณรอบละ 10 – 12 ตัน จำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้ เป็นอย่างดี และมีเทคนิคและวิธีการปลูกฟักทองให้ได้ผลผลิตดี ดังนี้



ขั้นตอนการเตรียมดิน :

- ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก

- ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง

- ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุย

- เก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด


ขั้นตอนการปลูก :

- โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตรใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม

- ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน

- เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวันเมื่อต้นกล้าเจริญจนมีใบจริง 4 ใบ

- ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น

- เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 14-14-21 โรยรอบๆ ต้น ( ประมาณ 1 กำมือ ) แล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

- การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ


เทคนิคต่างๆในการปลูกฟักทอง :

การผสมเกสร เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไป เคาะละออง เกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป

การกำจัดแมลงวันทองโดยใช้กล้วยเล็บมือนางเป็นตัวล่อ โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูขนาด 3x3 นิ้วทั้งสองด้าน จากนั้นนำกล้วยเล็บมือนางที่สุกจัดๆมาใส่ในขวด แล้วนำยาฆ่าแมลงมาใส่ในขวด เมื่อแมลงวันทองได้กลิ่น กล้วย ก็จะเข้ามากินก็จะทำให้โดนยาฆ่าแมลงตาย

การทำให้ฟักทองผลโต เมื่อฟักทองติดผลอ่อนได้ประมาณ 5 วันให้ทำการตัดยอดฟักทองออกเพื่อให้น้ำเลี้ยงต่างๆ มา เลี้ยงที่ผลฟักทองได้เต็มที่ จะได้ผลฟักทองที่โตเต็มที่ (ประมาณ 7–10 กก./ ผล )


การเก็บเกี่ยว :

เมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวได้ให้สังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก ดูนวล ขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัด การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย ได้นานๆ จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง จนหมด

ที่มา :

ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. ชุมพร

---------- ^ ^ -----------

แหล่งอ้างอิง :

นิภา นวลน้อย เกษตรกร บ้านวัดนอก ต.วิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร.สัมภาษณ์,20 มีนาคม 2552

Saturday, November 17, 2012

ฟักทอง..........ช่วยคุณได้

ฟักทอง..........ช่วยคุณได้



ฟักทอง เป็นพืชผักสวนครัวเก่าแก่ที่คนโบราณรู้จักดี

และนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารทั้งคาวและหวานมากมายหลายชนิด มีลักษณะเป็นพืชเถาเลื้อย ปลูกง่ายให้ผลเร็ว

โดยใช้เมล็ดปลูกในดินร่วนหรือดินปนทราย

ฟักทองจะเจริญเติบโตแตกยอดผลิดอก ออกผลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหน้าฝน

และเคล็ดลับที่จะทำให้ฟักทองออกผลดก ต้องหมั่นเด็ดยอดไปทำอาหารบ่อย ๆ

คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟักทองเป็นผัก
• ยอดอ่อน
• ใบ และ
• ดอกตูม

นำไปลวกหรือต้มให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ยอด ดอก

รวมถึงผลของฟักทอง
• สามารถนำไปใช้ในแกงเลียง
• แกงส้ม
• ผัดใส่ไก่หรือหมู ใส่ในแกงแคหรือแกงลาว แกงอ่อม แกงใส่กะทิ ต้มกะทิ แกงเผ็ด

รวมทั้งมีการดัดแปลงเป็นผักใส่ในแกงไตปลาของภาคใต้

นอกจากนี้ยังทำเป็นของหวานได้ เช่น

• ฟักทองเชื่อม
• สังขยาฟักทองและฟักทองแกงบวบ
• ฟักทองสังขยา
• ฟักทองนึ่งมะพร้าวเกลือ
• บัวลอยฟักทอง

อาหารว่าง เช่น

• ข้าวเกรียบฟักทอง
• น้ำฟักทอง

ส่วนเมล็ด ฟักทอง

• นำมาอบ หรือคั่วกับเกลือ ทานเป็นของขบเคี้ยว
• และส่วนเมล็ด ของฟักทองก็มีแป้งและน้ำมัน รสมัน

ประโยชน์ที่ได้จากฟักทอง

รวมถึงสารอาหารบำรุงร่างกายต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

• วิตามินบี
• วิตามินเอ
• วิตามินซี และ
• ธาตุฟอสฟอรัส

มีสารสังเคราะห์จากพืชประเภทแคโรทีนอยด์ เช่น

เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้

หากกินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา

สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในเส้นเลือด

• ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต
• นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และ
• สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป

ในบางครั้งบางเวลาเราอาจจะใช้เมล็ดฟักทอง

ถ่าย พยาธิลำไส้ พยาธิตัวตืด หรือนำไปคั่วกินเป็นอาหารว่าง และสามารถป้องกันการเกิดนิ่ว ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อ ให้ถ่ายพยาธิออกมาได้ เนื่องจากเมล็ดฟักทองมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร

• ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก

• ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง

• ซึ่งช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล และสายตาอีกด้วย

ใครจะทราบว่าฟักทองจะเหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร

เนื่อง จากขาดธาตุฟอสฟอรัสและที่สำคัญเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย มีฤทธิ์อุ่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวด

ข้อควรระวังคนที่กระเพราะร้อน

(คือ มีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีก อาจพบแผลใน ช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น)

ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาาร้อน แม้คนปกติเอง ถ้ากินครั้งเดียวมากๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้

จากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ มีคุณประโยชน์มากมายและหลายหลาก แล้วคุณยังจะรีรอที่จะหาฟักทองมารับประทานกันอีกหรือ?



ข้อมูลดีๆจาก.teenee.com

เทคนิคช่วยผสมเกสรฟักทอง

     เทคนิคช่วยผสมเกสรฟักทอง
         
http://www.thaimuslim.com/Farmland/pics/20100222759_02.jpg

     ดอกฟักทอง ออกเป็นดอกเดี่ยวอยู่ตามข้อใบแยกเพศ มีกลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลือง 5 กลีบ ดอกตัวเมีย จะมีรังไข่กลมยาว 2-5 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก ส่วนของยอดเกสรมี 2-5 แฉก ดอกฟักทองตัวเมีย

               การสังเกตดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทอง
     ในระยะแรกของการเจริญเติบโต ฟักทองจะมีแต่ดอกตัวผู้ ส่วนดอกตัวเมียจะเริ่มมีตั้งแต่ข้อที่ 12-15 เป็นต้นไป ส่วนใหญ่ดอกที่เกิดปลายเถาและเถาแขนงจะเป็นดอกตัวเมีย
     การต่อดอก โดยปลิดกลีบดอกตัวผู้ออกแล้วนำไปเคาะให้ละอองเกสรตกลงบนดอกตัวเมีย

               การต่อดอกฟักทอง

     ดอกตัวเมียและตัวผู้ของฟักทองจะเริ่มบานในช่วงเวลา 3.30-6.00 น. อับละอองเรณูของฟักทองจะแตกระหว่างเวลา 21.00-3.00 น. ละอองเรณูจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 16 ชั่วโมง หลังอับละอองเรณูแตกยอดเกสรตัวเมียจะพร้อมรับการผสมเกสรก่อนดอกบาน 2 ชั่วโมง และหลังดอกบาน 10 ชั่วโมง ดังนั้นในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมต่อการช่วยผสมเกสรฟักทอง คือ ตั้งแต่เวลา 6.00-9.00 น.
     เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป วิธีนี้เรียกว่า "การต่อดอก"

               การล่อแมลงช่วยผสมเกสร

     อีกวิธีหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทอง จ.สกลนคร แนะนำเทคนิคง่ายๆ คือ เอานมผงที่ใช้เลี้ยงทารกผสมน้ำพอประมาณ พ่นใส่ดอกฟักทองในระยะที่ดอกกำลังบาน เพื่อล่อแมลงมาช่วยผสมเกสร วิธีนี้ช่วยให้ฟักทองติดผลทุกเถา โดยไม่ต้องต่อดอก


ที่มา:รักบ้านเกิด

ประโยชน์ของฟักทอง สรรพคุณทางยาเพื่อสุขภาพ

ฟักทองประโยชน์ของฟักทอง สรรพคุณทางยาเพื่อสุขภาพ

ฟักทองถือเป็นพืชในตระกูลมะระชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็ง เนื้อในสีเหลืองมีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมายสามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี
pumpkin

ประโยชน์ของฟักทอง

สรรพคุณทางยาของฟักทอง

- เมล็ดสามารถขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกายได้ดี
- ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถ่อนพิษของฝิ่นได้
- น้ำมันจากเมล็ดบำรุงประสาทได้ดี
- เยื่อกลางผลสามารถนำมาพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวด อักเสบ

ประโยชน์ของฟักทองทางโภชนาการ

- เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลืองและโปรตีน
- ใบอ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ
- ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย
- เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน


เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยประโยชน์ของเมล็ดฟักทอง ในเมล็ดฟักทองมีสารชื่อ คิวเคอร์บิติน (cucurbitine) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืดได้ดี วิธีใช้ให้เตรียมเมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกละเอียดนำมาผสมกับน้ำตาล นม และน้ำเติมลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมงจะฆ่าพยาธิตัวตืดได้ หลังจากนั้นให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ควรรับประทานยาระบายน้ำมันละหุ่ง 2 ช้อนโต๊ะช่วยในการขับถ่าย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.vcharkarn.com

คุณค่าทางโภชนาการฟักทอง



       มีสารอาหารบำรุง ร่างกายมากมายเช่น วิตามินเอ บี ซี และธาตุฟอสฟอรัส และที่สำคัญสารเบต้าแคโรทีน ที่มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทองยังมีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ หาก กินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป นอกจากนี้ฟักทองยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เหมาะสำหรับหลังคลอดบุตร ที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส และเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย


น้ำฟักทอง

              เมล็ดฟักทองมีสารชื่อ คิวเคอร์บิติน (cucurbitine) มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวตืดได้ เตรียม ได้จากเมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตก ผสมกับน้ำตาล นม และน้ำเติมลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมงให้รับประทานยาระบายน้ำมันละหุ่ง 2 ช้อนโต๊ะ ส่วน เนื้อฟักทองมีแป้งและน้ำตาลประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เส้นใย 1 เปอร์เซ็นต์ และมีวิตามินซีในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน

ฟักทอง เป็นพืชตระกูลมะระ จัดเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เลื้อยตามดิน ยาว 5-12 เมตร เถา ก้านใบ แผ่นใบ ก้านดอก กลีบเลี้ยง และผลอ่อนมีขนยาว ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เว้าเป็นหยัก ดอกเดี่ยว ดอกตัวผู้กับตัวเมีย แยกกันแต่อยู่ในเถาเดียวกัน ผิวผลเมื่อยังอ่อนออกสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวสลับเหลือง ผิวขรุขระ เปลือกแข็ง เนื้อในสีเหลือง ไส้เส้นใยสีเหลืองนิ่ม มีเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่จำนวนมาก


แนะนำส่วนผสมของน้ำฟักทอง

ฟักทองนึ่งสุก 1 ถ้วย
น้ำสะอาด 3 ถ้วย
น้ำตาลทราย 100 กรัม หรือน้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง
เกลือป่น

วิธีทำ

ปอก เปลือกฟักทอง นึ่งให้สุก ใส่เครื่องปั่นเติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด เทใส่ภาชนะนำไปตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย เกลือป่น ชิมรสตามใจชอบ กรองด้วยผ้าขาวบางใส่หม้อตั้งไฟพอเดือด ยกลง จะได้น้ำฟักทองสีเหลือง มีรสหวานมัน เทใส่ขวด นำไปแช่เย็น หรือนำฟักทองไปนึ่งให้สุก แล้วนำมาใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ แล้วปั่นให้ละเอียด นำไปตั้งไฟต้มจนเดือด เติมน้ำเชื่อม และเกลือลงไป ชิมรส เมื่อได้รสชาติตามชอบแล้วยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง เราก็จะได้น้ำฟักทองสีเหลืองน่ารับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการ

เนื้อฟักทอง มีวิตามินเอสูงมาก มีฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง สารสีเหลือง โปรตีน
ใบ อ่อน มีวิตามินเอสูงเท่ากับเนื้อฟักทอง มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ ดอก มีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย เมล็ด มีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน

สรรพคุณ

เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และบำรุงร่างกาย
ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น
น้ำมันจากเมล็ด บำรุงประสาท
เยื่อกลางผล พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ

ในทาง โหราศาสตร์ได้จัดแบ่งราศีเกิดของคนเราตามการหมุนของดวงอาทิตย์ไว้ 12 ราศี แต่ละราศีจะเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละคน และมีผลต่อร่างกายของคนเรา ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ บุคคลแต่ละคนจะมีธาตุหนึ่งธาตุใดในร่างกายเด่นชัดออกมา และจะแสดงออกเป็นบุคลิก นิสิยใจคอ อารมณ์ รวมทั้งพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ได้


ธาตุดิน ได้แก่ผู้ที่เกิดราศีพฤษภ ราศีกันย์ และราศีธนู มักจะชอบดื่มน้ำผักและผลไม้ที่มีรสฝาด รสหวาน รสมัน และรสเค็ม

รสฝาด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะตูม น้ำกระท้อน น้ำมะกอก น้ำมะขามป้อม น้ำลูกหว้า
รสหวาน เช่น น้ำแตงโม น้ำมะละกอ น้ำกล้วยหอม น้ำขนุน น้ำเงาะ น้ำน้อยหน่า น้ำละมุดฝรั่ง น้ำลำใย น้ำอ้อย
รสมัน เช่น น้ำกระจับ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำแห้ว
รสเค็ม เช่น เกลือ

                                                              

          ปัจจุบัน กระแสนิยมน้ำสมุนไพร ซึ่งเป็นน้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ของพืช เช่น ผลไม้ หรือ ธัญพืชต่างๆ นำมาแปรรูปให้เหมาะสมตามฤดูกาล การเตรียมน้ำสมุนไพรไว้ดื่มเองนั้น ราคาจะย่อมเยา สะอาด ปราศจากสารพิษรสชาติจะถูกปากของแต่ละบุคคล นอกจากนี้คุณค่าและประโยชน์ของน้ำสมุนไพรยังเชื่อว่ามีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะน้ำสมุนไพรให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร เจริญอาหาร ให้พลังงาน ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ร่างกายกระชุ่มกระชวย และอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และยังช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยควบคุมไขมันส่วนที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสารอาหารในน้ำสมุนไพรช่วยควบคุมระบบการทำงานของร่างกายทำให้สาร อาหารชนิดอื่นได้ประโยชน์อย่างเต็มที่

ควร เลือก สมุนไพรสด เลือกที่สดๆ เก็บจากต้นใหม่ๆ ตามฤดูกาล สีสรรเป็นธรรมชาติตามชนิดของสมุนไพร ไม่มีรอยช้ำเน่าเสีย ความสดทำให้มีรสชาติดี มีคุณค่ามากกว่า หากใช้สมุนไพรแห้ง การซื้อควรดูที่ความสะอาด สีสรรไม่คล้ำมาก เช่น กระเจี๊ยบแห้ง ควรมีสีแดงคล้ำแต่ไม่ดำ มะตูมแห้งควรมีสีน้ำตาลออกแดง จะต้องไม่มีกลิ่นของปัสสาวะ หรือ อุจจาระสัตว์ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้รูป กลิ่น สี ของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป


อย่าง ไรก็ตาม น้ำสมุนไพรบางชนิดดื่มลำบากในช่วงแรก อาจทำให้รู้สึกอึดอัด เนื่องจากรสชาติไม่ค่อยตรงกับรสนิยมของผู้ดื่ม วิธการดื่มที่ดี ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยามากกว่าปล่อยทิ้งไว้นานแล้วดื่ม เพราะทำให้คุณค่าลดลง นอกจากนี้การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียวกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกาย และพบว่าการดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศา เซลเซียสขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็งหรือจุลินทรีย์ปนเปื้อนได้ง่าย


ข้อมูล :
http://www.horapa.com

โจ๊กฟักทองฉบับเกาหลีเจ้าค่ะ



โจ๊กฟักทองฉบับเกาหลี

 
เมื่อคืนนั่งดูรายการ family outing ของเกาหลีมีอาหารชนิดหนึ่งที่ทำง่ายไม่ยากน่ากินและมีประโยชน์เลยนำมาฝากจ้า

วิธีทำ

1. เตรียมหั่นฟักทอง
2.เอาไปปั่น จริงๆ ไม่ต้องปั่นก็ได้ แต่ต้มคนจนฟักทองละลาย
3.แป้งข้าวเหนียว
4.ส่วนหนึ่งเอาไปไปเคี่ยวผสมกับฟักทองที่ต้มอยู่แล้วใส่น้ำไม่ต้องมาก   อีกส่วนหนึ่งเอามาปั้นเหมือนเม็ดบัวลอย แต่ปั้นให้เม็ดใหญ่กว่า    แล้วก็เอาไปต้ม เคี่ยวผสมกันไปสักพัก พอได้ที่ก็ใส่น้ำตาลทราย ชิมว่ารสชาดไม่หวานมากไป แล้วนำเอาเม็ดบัวลอยไปใส่ต้มผสมกันเท่านี้ก็จะได้โจ๊กฟักทองเพื่อสุขภาพแล้วครับท่าน
ทำก็ง่ายใช่มั้ย ลองเอาไปทำดูนะ  ดูเหมือนว่าฟักทองเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วยนะ  ไม่ได้โม้


ประโยชน์ของฟักทอง


ฟักทอง เป็นพืชผักสวนครัวเก่าแก่ที่คนโบราณรู้จักดี
และนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหารทั้งคาวและหวานมากมายหลายชนิด มีลักษณะเป็นพืชเถาเลื้อย ปลูกง่ายให้ผลเร็ว

โดยใช้เมล็ดปลูกในดินร่วนหรือดินปนทราย

ฟักทองจะเจริญเติบโตแตกยอดผลิดอก ออกผลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหน้าฝน

และเคล็ดลับที่จะทำให้ฟักทองออกผลดก ต้องหมั่นเด็ดยอดไปทำอาหารบ่อย ๆ

คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟักทองเป็นผัก
ยอดอ่อน
ใบ และ
ดอกตูม

นำไปลวกหรือต้มให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ยอด ดอก

รวมถึงผลของฟักทอง

สามารถนำไปใช้ในแกงเลียง
แกงส้ม
ผัดใส่ไก่หรือหมู ใส่ในแกงแคหรือแกงลาว แกงอ่อม แกงใส่กะทิ ต้มกะทิ แกงเผ็ด

รวมทั้งมีการดัดแปลงเป็นผักใส่ในแกงไตปลาของภาคใต้

นอกจากนี้ยังทำเป็นของหวานได้ เช่น

ฟักทองเชื่อม
สังขยาฟักทองและฟักทองแกงบวบ
ฟักทองสังขยา
ฟักทองนึ่งมะพร้าวเกลือ
บัวลอยฟักทอง

อาหารว่าง เช่น

ข้าวเกรียบฟักทอง
น้ำฟักทอง

ส่วนเมล็ด ฟักทอง

นำมาอบ หรือคั่วกับเกลือ ทานเป็นของขบเคี้ยว
และส่วนเมล็ด ของฟักทองก็มีแป้งและน้ำมัน รสมัน

ประโยชน์ที่ได้จากฟักทอง
รวมถึงสารอาหารบำรุงร่างกายต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

วิตามินบี
วิตามินเอ
วิตามินซี และ
ธาตุฟอสฟอรัส

มีสารสังเคราะห์จากพืชประเภทแคโรทีนอยด์ เช่น

เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้

หากกินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา

สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในเส้นเลือด

ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต
นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และ
สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป

ในบางครั้งบางเวลาเราอาจจะใช้เมล็ดฟักทอง
ถ่ายพยาธิลำไส้ พยาธิตัวตืด หรือนำไปคั่วกินเป็นอาหารว่าง และสามารถป้องกันการเกิดนิ่ว ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อ ให้ถ่ายพยาธิออกมาได้ เนื่องจากเมล็ดฟักทองมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร

ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก

ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง

ซึ่งช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล และสายตาอีกด้วย

ใครจะทราบว่าฟักทองจะเหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
เนื่องจากขาดธาตุฟอสฟอรัสและที่สำคัญเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย มีฤทธิ์อุ่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวด

ข้อควรระวังคนที่กระเพราะร้อน

(คือมีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีก อาจพบแผลใน ช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น)

ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาาร้อน แม้คนปกติเอง ถ้ากินครั้งเดียวมากๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้

จากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ มีคุณประโยชน์มากมายและหลายหลาก แล้วคุณยังจะรีรอที่จะหาฟักทองมารับประทานกันอีกหรือ?

สรรพคุณฟักทอง

ภาพจากอินเตอร์เน็ต

 

สรรพคุณฟักทอง

ฟักทอง เป็นพืชผักสวนครัวเก่าแก่ที่คนโบราณรู้จักดีและนำมาใช้ประโยชน์ในการประกอบ อาหารทั้งคาวและหวานมากมายหลายชนิด มีลักษณะเป็นพืชเถาเลื้อย ปลูกง่ายให้ผลเร็ว โดยใช้เมล็ดปลูกในดินร่วนหรือดินปนทราย ฟักทองจะเจริญเติบโตแตกยอดผลิดอก ออกผลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหน้าฝนและเคล็ดลับที่จะทำให้ฟักทองออกผลดก ต้องหมั่นเด็ดยอดไปทำอาหารบ่อย ๆ

คน ส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟักทองเป็นผัก ยอดอ่อน ใบ และดอกตูม นำไปลวกหรือต้มให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ยอด ดอกรวมถึงผลของฟักทองสามารถนำไปใช้ในแกงเลียง แกงส้ม ผัดใส่ไก่หรือหมู ใส่ในแกงแคหรือแกงลาว แกงอ่อม แกงใส่กะทิ ต้มกะทิ แกงเผ็ด รวมทั้งมีการดัดแปลงเป็นผักใส่ในแกงไตปลาของภาคใต้ นอกจากนี้ยังทำเป็นของหวานได้ เช่น ฟักทองเชื่อม สังขยาฟักทองและฟักทองแกงบวบ ฟักทองนึ่งมะพร้าวเกลือ บัวลอยฟักทอง อาหารว่าง เช่น ข้าวเกรียบฟักทอง น้ำฟักทอง ส่วนเมล็ด ฟักทอง นำมาอบ หรือคั่วกับเกลือ ทานเป็นของขบเคี้ยว และส่วนเมล็ด ของฟักทองก็มีแป้งและน้ำมัน รสมัน

ประโยชน์ที่ได้จากฟักทอง รวมถึงสารอาหารบำรุงร่างกายต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี และธาตุฟอสฟอรัส มีสารสังเคราะห์จากพืชประเภทแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ หาก กินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในเส้นเลือดป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป ใน บางครั้งบางเวลาเราอาจจะใช้เมล็ดฟักทอง ถ่ายพยาธิลำไส้ พยาธิตัวตืด หรือนำไปคั่วกินเป็นอาหารว่าง และสามารถป้องกันการเกิดนิ่ว ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อ ให้ถ่ายพยาธิออกมาได้ เนื่องจากเมล็ดฟักทองมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง ซึ่งช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล และสายตาอีกด้วย

ใครจะทราบว่าฟักทองจะเหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร

เนื่อง จากขาดธาตุฟอสฟอรัสและที่สำคัญเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย มีฤทธิ์อุ่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวด

ข้อควรระวังคนที่กระเพราะร้อน

(คือ มีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีก อาจพบแผลใน ช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น) ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาร้อน แม้คนปกติเอง ถ้ากินครั้งเดียวมากๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้

จากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ มีคุณประโยชน์มากมายและหลายหลาก แล้วคุณยังจะรีรอที่จะหาฟักทองมารับประทานกันอีกหรือ?

ข้อมูลจาก สสส. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

การปลูกฟักทอง


การปลูกฟักทอง
ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

ผศ.ดร.จา นุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการเผยแพร่ วิธีการปลูกฟักทองแบบปลอดภัย เริ่มต้นจากการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ มีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืชและสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่ เป็นประโยชน์ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินที่ใช้ปลูกฟักทองจะเป็นการเพิ่มปริมาณ จุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช จุลินทรีย์จะใช้อาหารจากปุ๋ยหมักชีวภาพและตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้


ใน การเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรจะต้องทราบสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ถ้าดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ และจะต้องใส่ก่อนลงมือปลูกอย่างน้อย 1 อาทิตย์

หลังจากนั้นให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ การไถพรวนตากดินควรให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร

สิ่ง สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทองควรคำนึงคือ ต้นฟักทองจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ย 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัด พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

หลังจากที่เพาะเมล็ดฟักทองในถาดเพาะกล้านาน เฉลี่ย 10-13 วัน หรือเมื่อต้นฟักทองมีใบจริง 1-2 ใบจึงทำการย้ายปลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วย การรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัมต่อหลุม

พบ ว่าในระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าจนต้นฟักทองมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร สารสตาร์เกิล จี จะป้องกันการทำลายของแมลงปากดูดทุกชนิดรวมถึงกำจัดเต่าแตงที่เข้ามาทำลายใบ ฟักทองได้ด้วย ในการปลูกฟักทอง ในเชิงพาณิชย์แนะนำให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 400 ต้น.

 
ฟักทอง จัด เป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

การปลูกฟักทอง
การเตรียมดิน
การ ปลูกฟักทองคล้ายๆ กับแตงโม ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด




การปลูก
พันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม. (พันธุ์เบา)
ใช้ วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก

การดูแลรักษาและใส่ปุ๋ย
1. เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน

2. เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน

3. เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน

4. พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา

5. การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ




ประโยชน์ของ การปลูกฟักทอง

ฟักทอง มีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด ราก ขั้ว น้ำมันจากเมล็ด เยื่อกลางผลยางรสและสรรพคุณในตำรายาไทย
เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แก้พิษปวดบวม
ราก รสเย็น ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น ดับพิษสัตว์กัดต่อย
ขั้ว รสเย็น ฝนกับมะนาวผสมใยฝ้ายเผาไฟ รับประทานแก้พิษกิ้งกือกัด
น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน รับประทานบำรุงประสาท
เยื่อผลกลาง รสหวานเย็น พอก แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ยาง แก้พิษผื่นคัน เริมและงูสวัด

Thursday, October 25, 2012

การปลูกฟักทอง

การปลูกฟักทอง

การเพาะปลูก การปลูกฟักทอง



ฟักทอง จัดเป็นผักในตระกูลแตงที่มีการใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานที่สุดชนิดหนึ่ง คาดการณ์ว่ามีการปลูกมานานไม่ต่ำกว่า 10,000 ปี สำหรับการปลูกฟักทองในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง คนไทยนิยมบริโภคฟักทองที่มีขนาดน้ำหนักผลเฉลี่ย 2-3 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวคล้ำ ร่องผลเป็นพูสม่ำเสมอหรือเปลือกขรุขระแบบหนังคางคก เนื้อสีเหลืองหนาและเหนียว พันธุ์ฟักทองที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่จะซื้อพันธุ์ลูกผสมที่ มีราคาค่อนข้างแพงให้ผลผลิตสูงแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเป็นพันธุ์ฟักทองที่ได้จากการผสมปล่อยและได้มีการคัด เลือกพันธุ์จนมีความนิ่งระดับหนึ่งเมื่อปลูกไปแล้วสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ทำพันธุ์ต่อได้

ผศ.ดร.จานุลักษณ์ ขนบดี จากสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการเผยแพร่ วิธีการปลูกฟักทองแบบปลอดภัย เริ่มต้นจากการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ มีการคลุมดินด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว ซากพืชและสัตว์ที่ผุพัง มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดการระบาดของศัตรูพืชและมีการอนุรักษ์แมลงที่ เป็นประโยชน์ การราดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพลงในดินที่ใช้ปลูกฟักทองจะเป็นการเพิ่มปริมาณ จุลินทรีย์ให้แก่ดินบริเวณรากพืช จุลินทรีย์จะใช้อาหารจากปุ๋ยหมักชีวภาพและตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้

ในการเตรียมพื้นที่ปลูกฟักทอง เกษตรกรจะต้องทราบสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน ถ้าดินมีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 จะต้องใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ และจะต้องใส่ก่อนลงมือปลูกอย่างน้อย 1 อาทิตย์

หลังจากนั้นให้ไถพรวนผสมคลุกเคล้าให้ปูนผสมกับดินและตากดินทิ้งไว้ การไถพรวนตากดินควรให้มีความลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกฟักทองควรคำนึงคือ ต้นฟักทองจะมีการเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิเฉลี่ย 18-27 องศาเซลเซียส จัดเป็นพืชผักที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัด พบว่าต้นฟักทองจะชะงักการเจริญเติบโตในสภาพอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

หลังจากที่เพาะเมล็ดฟักทองในถาดเพาะกล้านานเฉลี่ย 10-13 วัน หรือเมื่อต้นฟักทองมีใบจริง 1-2 ใบจึงทำการย้ายปลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมด้วย การรองก้นหลุมด้วยสารสตาร์เกิล จี อัตรา 2 กรัมต่อหลุม

พบว่าในระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าจนต้นฟักทองมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร สารสตาร์เกิล จี จะป้องกันการทำลายของแมลงปากดูดทุกชนิดรวมถึงกำจัดเต่าแตงที่เข้ามาทำลายใบ ฟักทองได้ด้วย ในการปลูกฟักทอง ในเชิงพาณิชย์แนะนำให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1 เมตร ระยะระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 400 ต้น.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ
ประโยชน์ของ การปลูกฟักทอง
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลง

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด ราก ขั้ว น้ำมันจากเมล็ด เยื่อกลางผล ยาง

รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แก้พิษปวดบวม

ราก รสเย็น ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น ดับพิษสัตว์กัดต่อย

ขั้ว รสเย็น ฝนกับมะนาวผสมใยฝ้ายเผาไฟ รับประทานแก้พิษกิ้งกือกัด

น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน รับประทานบำรุงประสาท

เยื่อผลกลาง รสหวานเย็น พอก แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ

ยาง แก้พิษผื่นคัน เริมและงูสวัด